องค์กรที่ประกาศเจตนารมณ์
รายละเอียดกิจกรรมสนับสนุน
ชื่อองค์กร : สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA)
เรื่องที่จะดำเนินการ : Thailand Responsible Business Network (TRBN)
1. รายละเอียดกิจกรรม :
กิจกรรมจะแบ่งออกเป็นกิจกรรมในเรื่องการตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจต่อ สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) โดยแบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1.Circular Economy 2.Climate Change 3.Supply Chain Management 4.Human Rights 5.Business Integrity 6.Responsible Investment การดำเนินกิจกรรมสำหรับด้านที่ 1 Circular Economy โครงการที่ 1 ความร่วมมือของบริษัทจดทะเบียน (Leading Team Collaboration) เป็นการรวมตัวของบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินการในด้านของ Circular Economy เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวทางปฏิบัติในเรื่อง “Recycling for sustainable environment” ร่วมกัน เพื่อสร้างต้นแบบของความร่วมมือระหว่างธุรกิจด้วยกันให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมีการทำความตกลงความร่วมมือร่วมกัน (Collaborative practice agreement) เพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายของการสร้างตัวอย่างความร่วมมือ และจัดทำคู่มือการบริหารจัดการขยะ (Waste management) โครงการที่ 2 โครงการต้นแบบ (Project Initiatives) ความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะในอาคาร (Waste management: Building design for a sustainable future) โดยเริ่มจากโครงการต้นแบบ ตัวอย่าง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการต้นแบบ ถนนวิภาวดี (Vibhavadi Road Model) ซึ่งจะมีสำนักงาน ก.ล.ต. เป็น หน่วยงานหลัก โครงการต้นแบบ ถนนรัชดาภิเษก (Ratchadapisek Road Model) จะมี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น หน่วยงานหลัก ทั้ง 2 โครงการจะเชิญชวนสมาชิกเครือข่าย TRBN ในบริเวณถนนเส้นนั้นๆ เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี (positive impact) ร่วมกัน และขยายไปเป็นต้นแบบ (model) ให้กับบริเวณอื่น ๆ หรือสมาชิกนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร โครงการที่ 3 คือการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ (Knowledge Sharing) เผยแพร่ข้อมูลและแนวปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ Circular Economy ตัวอย่างหัวข้อ เช่น 1. สร้างความเข้าใจระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Understanding the circular economy / Living Circular) 2. จะนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาผนวกกับองค์กรอย่างไร (How to build a business in the circular economy) 3. ตัวชี้วัดของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy indicators: what do they measure?)
2. ประโยชน์ที่กลุ่มที่ 1 จะได้รับจากการร่วมกิจกรรม :
-
3. เป้าหมาย
3.1 ความยั่งยืนของเรื่องที่เลือก (SDGs) :
SDG 10,13
3.2 เป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และเวลา :
-
3.3 เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี 2562 :
-
4. ผลการดำเนินงาน
1. โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” หรือ “VIBHAVADI ZERO WASTE”
เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้เป้าหมายธุรกิจปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ โดยร่วมมือกับ ก.ล.ต. มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันลดการใช้ทรัพยากรและขยะสู่บ่อฝังกลบ เพิ่มอัตราการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ (Recycling Rate) มีการวัดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งร่วมกันถอดบทเรียนโมเดลต้นแบบการจัดการทรัพยากรและขยะ เพื่อเผยแพร่ขยายผลต่อไป โดยส่งเสริมให้ บจ. และเอกชนทั่วไปและหน่วยงานอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมภายในองค์กรที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการคัดแยกขยะอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นทาง มีการบันทึกข้อมูลการจัดการทรัพยากรและคัดแยกขยะตามความเป็นจริงทุกเดือน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สามารถวัดผลได้จริง และเกิด “ต้นแบบการจัดการทรัพยากรขยะ”
สรุปความก้าวหน้า/ความสำเร็จ
- จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับ ก.ล.ต. และบริษัท GEPP สะอาด ขับเคลื่อนความร่วมมือกับ 31 บจ. ในตลาดทุนไทยและบริษัทเอกชนอื่น ๆ บนถนนวิภาวดีรังสิต สู่การลงมือทำจริงและหวังผลสำเร็จให้ทุกองค์กรมีระบบการจัดการทรัพยากรและขยะที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 70 คน
- จัดอบรม online course “ระบบการจัดการขยะ และประโยชน์จากข้อมูล” ร่วมกับบริษัท GEPP สะอาด ในหัวข้อ “ระบบการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี” และ “การจัดการขยะอย่างยั่งยืน” โดยจัดอบรมจำนวน 2 รอบ รอบที่ 1 เมื่อวันที่ 24 และ 26 เมษายน และรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 26 และ 27 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมจาก บจ. บริษัททั่วไป และภาครัฐ จำนวน 80 คน/รอบ นอกจากนี้ ได้รับเกียรติจาก บจ. ที่มีการดำเนินงานอยู่แล้วมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การดำเนินงานที่มีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง อาทิ โครงการ “วน” จากบริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) โครงการ “ทิ้ง e-waste กับ AIS” “การจัดการ food waste” จาก ก.ล.ต. และโครงการจาก SCG Paper X เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง และเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและขยะสู่บ่อฝังกลบ
- การดำเนินงานจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้เกิดการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง-ปลายทาง เพื่อสนับสนุนให้ บจ. และเอกชนทั่วไปที่มีสำนักงานตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต มีการจัดการทรัพยากรอย่างถูกต้องมีการจัดเก็บข้อมูล โดยมีเป้าหมายอัตรารีไซเคิลจากโครงการ 30% มีองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯจำนวน 32 องค์กร ทั้งนี้ จากระยะเวลา 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย. 2563) บริษัทที่เข้าร่วมโครงการสามารถช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 364 ตันคาร์บอนไดออกไซด์หรือเทียบเท่ากับ
การมีป่าอยู่ 364 ไร่
2. โครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้เป้าหมายธุรกิจปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ โดยเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และเห็นโอกาสในการสร้างความตระหนัก และให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาขยะและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกคนในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง นำไปสู่การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่หรือปูทางการพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน TRBN จึงร่วมมือกับภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนดำเนินโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ร่วมกัน
สรุปความก้าวหน้า/ความสำเร็จ
การจัดการด้าน “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อให้เกิดโมเดลต้นแบบการเรียกคืนขยะ โดยความร่วมมือของภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน ซึ่งมีเป้าหมายการดำเนินงานการเพิ่มอัตรา recycle/upcycle จากการที่ประชาชนนำพลาสติกสะอาดเกิน 80% มาเข้าร่วมโครงการ โดยได้นำร่องบนถนนสุขุมวิท 10 จุด ได้แก่ 1) Singha Complex 2) Emporium 3) EmQuartier 4) A Square 5) Bambini Villa 6) Broccoli Revolution 7) Tesco Lotus 8) The Commons 9) CP Freshmart
10) Veggiology
3. โครงการ “คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ” เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้เป้าหมายธุรกิจปล่อยคาร์บอนต่ำ มีเป้าหมายร่วมกับภาคเอกชนทำโครงการ CSR ที่เกิดผลกระทบสูงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการสนับสนุนชุมชนที่ดูแลป่าได้ดีอยู่แล้ว เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนที่อยู่กับป่าอื่น ๆ หันมาดูแลป่าสมบูรณ์และไม่ปล่อยให้ถูกทำลาย เพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีรายได้เลี้ยงชีพ โดยไม่ทำลายป่า โดยสามารถทำได้ทันทีเนื่องจาก พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 อนุญาตให้ชุมชน
ใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย และยังมีแรงจูงใจทางภาษีให้ภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ถือเป็นการสะสมปริมาณคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยภาคธุรกิจ และช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อย่างยั่งยืน เช่น บรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรเทาผลกระทบจากการอพยพกลับถิ่นฐานของแรงงานหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาภัยแล้ง สร้างความมั่นคงทางอาหาร แก้ไขปัญหา PM 2.5 และบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อน เป็นต้น โดย ก.ล.ต. นำร่องสนับสนุนงบประมาณโครงการ
สรุปความก้าวหน้า/ความสำเร็จ
จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระหว่างหน่วยงาน ดังนี้ (1) มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์เสนอผลการลงพื้นที่สำรวจความพร้อมและศักยภาพของป่าชุมชนต้นแบบ 4 แห่ง และข้อเสนอในการพัฒนากลไก (2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เสนอบทเรียนการทำงานโครงการธนาคารต้นไม้ (3) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอผลการศึกษาและวิจัยเรื่องการเพิ่มมูลค่าให้ป่าชุมชน (4) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เสนอเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในฐานะเครื่องมือสร้างความน่าเชื่อถือของป่าชุมชน (5) กรมป่าไม้เสนอข้อจำกัด เงื่อนไขและโอกาสของภาครัฐ โดยการประชุมครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 รูปแบบประชุมออนไลน์ มีจำนวนผู้เข้าร่วม 25 คน
โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” หรือ “VIBHAVADI ZERO WASTE” : จัดอบรม online course “ระบบการจัดการขยะ และประโยชน์จากข้อมูล” ร่วมกับบริษัท GEPP สะอาด ในหัวข้อ “ระบบการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี” และ “การจัดการขยะอย่างยั่งยืน”
โครงการ “คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ”
โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” หรือ “VIBHAVADI ZERO WASTE”
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับ ก.ล.ต. และบริษัท GEPP สะอาด ขับเคลื่อนความร่วมมือกับ 31 บจ. ในตลาดทุนไทย และบริษัทเอกชนอื่น ๆ บนถนนวิภาวดีรังสิต สู่การลงมือทำจริง
ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ :
โทรศัพท์ :
E-mail :
ชื่อผู้ประสานงานโครงการ :
โทรศัพท์ :
E-mail :